Author: nokk59

หลักธรรมาภิบาลกับการดำเนินงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินงานที่นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเกิดความโปร่งใสขององค์กร ประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ จากหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 10 ประการ ดังกล่าว คือ หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มีการปฏิบัติราชการใช้ทรัพยากรอย่าง ประหยัด เกิดผลิตภาพ หลักประสิทธิผล (Effectiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดวางระบบการควบคุมภายใน หลักการตอบสนอง (Responsiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจะต้องได้รับการตรวจประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA ) เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ หลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการปฏิบัติราชการของอปท.ใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ความเสมอภาค (Equity) ในการปฏิบัติราชการของอปท. ยึดหลักความเสมอภาค ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทำมติ (Participation/ Consensus Oriented) อปท.ปฏิบัติงานเน้นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยมีการติดตั้งตู้แสดงความคิดเห็น การกระจายอำนาจ (Decentralization) อทป.ยึดหลักการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา งานด้านการบริหารจะเป็นอำนาจของคณะผู้บริหารนำโดยนายกอปท.เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และจะมีการมอบหมายงานให้รองนายกเทศมนตรีรับผิดชอบโดยตรง ส่วนข้าราชการจะมีปลัดอทป.เป็นผู้บังคับบัญชาและการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น คุณธรรม/จริยธรรม(Morality/ Ethic) อปท. ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีศีลธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐาน จริยธรรมโดยมีการจัดทำแผนคุณธรรมจริยธรรของพนักงานในอปท. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการโปร่งใส
คำสำคัญ
หลักธรรมาภิบาล การดำเนินงาน องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
บทนำ
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2558 (Corruption Perceptions Index 2015) ผลคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นโลกประจำปี 2558 ประเทศไทยได้ที่ 76 จาก 168 ประเทศ ดร.จุรี วิจิตรวาทการ เลขาธิการมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) เปิดเผยผลการจัดอันดับ
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2558 ประเทศไทยได้คะแนน 38 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน (ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นโลก ปี 2558 ไทยได้ที่ 76 จาก 168 ประเทศ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 จากhttps://thaipublica.org/2016/01/corruption-perceptions-index-2015-thailand / ) โดยสรุปได้ว่า ประเทศไทยยังมีการทุจริตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีอิสระในการบริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ของตนเอง โดยมีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารท้องถิ่น โดยได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่หลักในการบริการสาธารณะของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังมีข่าวการดำเนินงานที่ขาดความโปร่งใสและการร้องเรียนเรื่องทุจริตในการรับบริการของหน่วยงานภาครัฐจากภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง (คู่มือ ITA,2558) และจากการศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยพระปิยวัฒน์ ปิยสีโล ได้อธิบายได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดกับผู้บริหารและคณะผู้บริหารมากกว่าองค์กร (พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล.(2554) แต่ในปัจจุบันนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการนำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาปฏิบัติ ดังนั้นจากปัญหาการขาดความโปร่งใสและการร้องเรียนเรื่องทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสื่อต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกองค์กร จึงนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
โดยสำนักงานก.พ.ร. ได้กำหนดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมองที่ดี ประกอบด้วย 10 หลัก
มีดังนี้แผนภาพแสดงหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (GG Framework)
1. การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ประกอบด้วย
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ทั้งนี้ ต้องมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจำเป็น
ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ตอบสนองต่อความคาด หวังของประชาชน สร้างกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน มีการจัดการความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อ เนื่อง
การตอบสนอง (Responsiveness) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด สร้างความเชื่อมั่นไว้วาง ใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม

2. ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วย
ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องสามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย รวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณให้โทษ ตลอดจนมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้ รับทราบอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไปโดยง่าย
หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่าง ๆ
ความเสมอภาค (Equity) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม และอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงโอกาสความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงบริการสาธารณะของ กลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย
3. ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย
การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ (Participation/Consensus Oriented) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานและร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ต้องมีความพยายามในการแสวงหาฉันทามติหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้านที่หาข้อยุติไม่ ได้ในประเด็นที่สำคัญ
การกระจายอำนาจ (Decentralization) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการควรมีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและ การดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาค ส่วนอื่น ๆ ในสังคม
4. ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วย
คุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็น ไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม รวมทั้งยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระบบราชการไทย 8 ประการ (I AM READY) ได้แก่
I – Integrity ซื่อสัตย์และกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
A – Activeness ทำงานเชิงรุก คิดเชิงบวกและมีจิตบริการ
M – Morality มีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม
R – Responsiveness คำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
E – Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
A – Accountability ตรวจสอบได้
D – Democracy ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
Y – Yield มุ่งผลสัมฤทธิ์
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2560 สืบค้นจาก http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2442 จากหลักธรรมาภิบาลทั้ง 10 ประการดังกล่าว ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีการกำหนดการตรวจมาตรฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีทุกปี มีด้านที่ 1 คือการบริหารจัดการ โดยประกอบด้วย การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูล การจัดการข้อร้องเรียน การบริการประชาชน ระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน ด้านที่ 2 ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา ด้านที่ 3 ด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง การจัดเก็บรายได้ การบริหารงบประมาณ การพัสุด การบริหารการเงินและบัญชี โดยมีผลสัมฤทธิ์ คือรายได้เพิ่มขึ้น ไม่มีข้อทักท้วง ด้านที่ 4 คือด้านการบริการสาธารณะ เป็นการจัดหมวดตามกลุ่มภารกิจถ่ายโอนที่ครอบคลุมการดำเนินงานของ อปท. และเชื่อมโยงกับ SDGs เพื่อสะท้อนความเป็นสากล และด้านที่ 5 ธรรมาภิบาล บริหารงานด้วย ความดี การชี้มูลความผิดจากหน่วยตรวจสอบ กลไกเรื่องร้องเรียน มาตรฐานการให้บราร การเปิดเผยข้อมูลและการมีส่วนร่วม และนโยบายและการจัดกิจกรรมและด้านที่ 6 นวัตกรรมท้องถิ่น โดยเป้าหมายเพื่อยกระดับการประเมินให้เป็น LPA 4.0 เพื่อสร้างท้องถิ่นไทยเข้มแข็ง โปร่งใส โดยมุ่งสร้างท้องถิ่นไทยให้เข้มแข็ง (เก่) โปร่งใส (ดี) ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยความมั่นคง ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (แบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(2560) ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล็งเห็นถือความสำคัญในการแก้ปัญหาความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้องค์กรปกครอ่งส่วนท้องถิ่นนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ในฐานะหน่วยงานของภาครัฐ โดยการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างหน้าที่ของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของแต่ละส่วนราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ความโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยได้ดำเนินงานแยกตามประเด็น 10 ประเด็น ตามสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนี้
1. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มีการปฏิบัติราชการใช้ทรัพยากรอย่าง ประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม มีการประกาศลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 20 กระบวนงาน เช่น ลดขั้นตอนงานการชำระภาษี จากระยะเวลา เดิม 5 นาที/ราย ลดเหลือ 3 นาที/ราย ประหยัดพลังงานในตอนเที่ยง ปิดไฟฟ้า ปิดแอร์
2. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดวางระบบการควบคุมภายใน เช่น กิจกรรมการดำเนินงาน ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง พร้อมรายงานผลความเสี่ยงต่อผู้บริหารและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็วตามระยะเวลาที่กำหนดไว้และมีโครงการบริการประชาชนเวลา ช่วงพักเที่ยงและวันหยุดราชการ และหน่วยออกพื้นที่ในการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การชำระภาษีตามพื้นที่ในชุมชน เป็นต้น
4. ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจะต้องได้รับกำรตรวจประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA ) โดยเฉพาะปีงบประมาณ 2560 นี้ มีด้านที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จ ำนวน 2 ด้าน คือ ด้าน ที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ และด้านที่ 5 ด้านธรรมาภิบาล ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจะต้องรับการประเมินดังกล่าว
5. เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบโดยมีช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ คือ 1. เว็บไซต์ของอปท. 2. เสียงตามสาย 3. ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร 4. เฟสบุค โดยอปท. มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนได้ ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ ของอปท. เช่น ประกาศการจัดซื้อจัด จ้าง สัญญาโครงการต่างๆ แผนสี่ปี แผนโครงสร้างการปฏิบัติงาน นโยบายของนายกอปท. รายงานการประชุมสภาเทศบาล ฯลฯ
6. หลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการปฏิบัติราชการของอปท.ใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึง สิทธิเสรีภาพของประชาชนและปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม
7. ความเสมอภาค (Equity) ในการปฏิบัติราชการของอปท. ยึดหลักความเสมอภาค ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพ ทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม และอื่น ๆ
8. การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทำมติ (Participation/ Consensus Oriented) : อปท.ปฏิบัติงานเน้นการรับฟังควำมคิดเห็นของประชาชนโดยมีการติดตั้งตู้แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นช่องทำงหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารงานของอปท. จะมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเปิดปิดตู้และนำความเห็นของประชาชนเสนอต่อคณะผู้บริหาร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป
9. การกระจายอำนาจ (Decentralization) อทป.ยึดหลักการกระจำยอำนาจในการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานตำมลำดับขั้นการบังคับบัญชา งานด้านการบริหารจะเป็นอำนาจของคณะ ผู้บริหารนำโดยนายกอปท.เป็นผู้มี
อำนาจสูงสุด และจะมีการมอบหมายงานให้รองนายกเทศมนตรีรับผิดชอบโดยตรง ส่วนข้าราชการจะมีปลัดอทป.เป็นผู้บังคับบัญชาและการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
10. คุณธรรม/จริยธรรม(Morality/ Ethic) อปท. ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีศีลธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐาน จริยธรรมโดยมีการจัดทำแผนคุณธรรม
จริยธรรของพนักงานในอปท. โดยเฉพาะอปท.ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะนี้ก็เตรียมความพร้อมในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งในการดำเนินงานของแต่ละอปท. นั้น โดยมีสาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช เป็นที่ปรึกษา จะเห็นได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาการทุจริต คดโกง ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลตามข้างต้นดังกล่าว
บทสรุป
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือได้ว่าให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มีการปฏิบัติราชการใช้ทรัพยากรอย่าง ประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ หลักประสิทธิผล (Effectiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดวางระบบการควบคุมภายใน หลักกำรตอบสนอง (Responsiveness) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจะต้องได้รับกำรตรวจประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA ) โดยเฉพาะปีงบประมำณ 2560 นี้ มีด้านที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จ ำนวน 2 ด้าน คือ ด้าน ที่ 1 ด้านการบริหารจัดการ และด้านที่ 5 ด้านธรรมาภิบาล ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจะต้องรับการประเมินดังกล่าว เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ หลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการปฏิบัติราชการของอปท.ใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึง สิทธิเสรีภาพของประชาชนและปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ความเสมอภาค (Equity) ในการปฏิบัติราชการของอปท. ยึดหลักความเสมอภาค ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ (Participation/ Consensus Oriented) อปท.ปฏิบัติงานเน้นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยมีการติดตั้งตู้แสดงความคิดเห็น การกระจายอำนาจ (Decentralization) อทป.ยึดหลักการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติงานตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา งานด้านการบริหารจะเป็นอำนาจของคณะ ผู้บริหารนำโดยนายกอปท.เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และจะมีการมอบหมายงานให้รองนายกเทศมนตรีรับผิดชอบโดยตรง ส่วนข้าราชการจะมีปลัดอทป.เป็นผู้บังคับบัญชาและการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น คุณธรรม/จริยธรรม(Morality/ Ethic) อปท. ปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีศีลธรรม คุณธรรม ยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐาน จริยธรรมโดยมีการจัดทำแผนคุณธรรมจริยธรรของพนักงานในอปท.

เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.(2560).แบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล.(2554).การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่.วิทยานิพน์.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.(2558). คู่มือ ITA การประเมนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 (สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลและที่ปรึกษา): กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2560 สืบค้นจาก http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2442
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลก ปี 2558 ไทยได้ที่ 76 จาก 168 ประเทศ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 จากhttps://thaipublica.org/2016/01/corruption-perceptions-index-201

ทฤษฎีด้านคุณธรรม จริยธรรม

ทฤษฎีด้านคุณธรรม จริยธรรม
ได้มีนักวิชาการ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมไว้หลายท่าน
ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมกับเด็ก เยาวชน ได้ดังนี้
1.ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory)
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว(2552 : 35) ได้อธิบายถึงทฤษฎีเซลล์กระจก ไว้ว่าทฤษฎีเซลล์กระจกเงา เป็นการค้นพบของ Vittorio Gallese. Leonardo Fogassi and GiacomoRizzolatti ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอิตาลี ได้อธิบายว่า เซลล์กระจกเงาเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งของมนุษย์ ที่คอยทำหน้าที่ในการเลียนแบบพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้อื่น ๆ มาเป็นพฤติกรรมของตนเอง หมายความว่า พฤติกรรมของเด็ก เยาวชน มีผลมาจากเซลล์กระจกเงาที่เด็กได้เลียนแบบมาจากพฤติกรรมของบุคคลใกล้ชิด หรือแม้กระทั่งบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กได้พบเห็น ถึงแม้ว่าเด็กจะไม่ได้เลียนแบบในทันทีที่เห็น แต่สมองของเด็กจะเก็บภาพการกระทำเหล่านั้นไว้และพร้อมที่จะเลียนแบบเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน ข้อค้นพบจากทฤษฎีเซลล์กระจกเงาชี้ชัดว่าการสอนที่ดีสุด คือ การประพฤติเป็นแบบอย่างให้เห็นของผู้สอน หรือผู้ที่เลี้ยงดู ดังนั้นการเลียนแบบจากพฤติกรรมที่ถูกต้องของต้นแบบ รวมกับการพัฒนาทางด้านจิตใจในการเข้าใจผู้อื่น ทำให้เด็กค่อย ๆ มีความเข้าใจและพัฒนาเหตุผลในเชิงจริยธรรม ท้ายที่สุดเด็กก็จะมีบุคคลิกภาพที่ถูกต้องความหมายของคำว่า “คนดี” ในสังคม
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา การสอนที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัตตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก เพื่อเด็กจะได้นำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตในอนาคตต่อไป
2. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของฌองเพียเจท์
เพียเจท์ (Jean Piaget) (1997 : 133) ได้กล่าวว่าในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์ เกิดจากแรงจูงใจในการปฏิบัติตนสัมพันธ์กับสังคม การพัฒนาจริยธรรมจึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาเหตุผลเชิงจริยธรรมตามระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคลที่มีวุฒิภาวะสูงขึ้น การรับรู้จริยธรรมได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ พัฒนาการคุณธรรมและจริยธรรมของมนุษย์สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้น และสามารถนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาการทางจริยธรรม ได้ดังนี้
1. ขั้นก่อนจริยธรรม (ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ขวบ) เป็นขั้นที่ยังไม่มีความสามารถในการรับรู้สิ่งแวดล้อม และระบบกฎเกณฑ์ได้ แต่ยังมีความต้องการทางกาย ซึ่งต้องการการตอบสนอง ดังนั้นการกระทำจะพึงกระทำเพื่อสนองความต้องการของตนเองโดยที่ไม่คำนึงถึงผู้อื่น
2. ขั้นเชื่อฟังคำสั่ง (ระหว่างอายุ 2 – 8 ขวบ) เด็กจะสามารถรับสภาพแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น ๆ รู้จักเกรงกลัวผู้ใหญ่ โดยเห็นว่าคำสั่งหรือกฎเกณฑ์เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามโดยไม่สนใจถึงผลที่จะตามมา
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน (ระหว่างอายุ 8 – 10 ขวบ) เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาสูงขึ้น คลายความเกรงกลัวอำนาจจากภายนอก สามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลและประสบการณ์ประกอบการตัดสินใจ สามารถประเมินความถูกผิดโดยดูจากเจตนาของผู้กระทำและตั้งเกณฑ์ของตนเองได้”
กล่าวโดยสรุปได้ว่า คุณธรรม จริยธรรมของมนุษย์ มีด้วยกัน 3 ขั้น ขั้นก่อนจริยธรรมเป็นขั้นตอนที่ต้องการทางกายไม่สามารถรับรู้ระบบกฎเกณฑ์ได้ ขั้นเชื่อฟังคำสั่ง เป็นขั้นรับฟังคำสังจากผู้อื่น รู้จักเกรงกลัวผู้ใหญ่ ขั้นยึดหลักแห่งตน สามารถตั้งกฎเกณฑ์ตนเองได้ ไม่เกรงกลัวอำนาจจากภายนอก
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ ลอว์เรนซ์ โคลเบอร์ก
โคลเบอร์ (Lawrence Kohlberg) (2000 : 159) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์ ทำให้พบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ 6 ขั้น มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์ (Pre-Conventional Level) เด็กในระดับนี้จะตัดสินใจเลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น ในระดับนี้บุคคลจะขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจเหนือตน ระดับนี้เด็กจะมีอายุประมาณ 2 – 10 ขวบ แบ่งได้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นหลักการหลบหนีการถูกลงโทษ (The Punishment and Obedience Orientation)
เด็กจะปฏิบัติตามผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน เพราะกลัวการถูกลงโทษ เช่น ไม่กล้าหนี เรียน เพราะกลัวครูตัดคะแนน เป็นต้น (พบในเด็กอายุ 2-7 ขวบ)
ขั้นที่ 2 ขั้นหลักการแสวงหารางวัล (The Instrumental Relativist Orientation) เด็กจะทำตามกฎเกณฑ์เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ โดยมุ่งการตอบแทนทางกายและวัตถุมากกว่าในเรื่องของนามธรรม (พบในเด็กอายุ 7- 10)
ระยะที่ 2 ระดับตามกฎเกณฑ์ (Conventional Level) เด็กในระดับนี้จะทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่ม เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับ จะเลียนแบบหรือคล้อยตามบุคคลใดกลุ่มเพื่อปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของสังคม โดยไม่ต้องคำนึงผลที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น ระดับนี้เด็กจะมีอายุประมาณ 10 – 16 ปี แบ่งได้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 ขั้นใช้หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ (The Enter Personal) เด็กจะกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าคนอื่น จะเห็นด้วยและพอใจ เพื่อการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน โดยจะกระทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคมอย่างเคร่งครัด (พบในเด็กอายุ 10 – 13 ปี)
ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ของสังคม (The Law and Order Orientation) ในระดับนี้บุคคลจะเข้าใจในกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานของสังคม ถือว่าตนมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคมอย่างเคร่งครัด (พบในเด็กอายุ 13 – 16 ปี)
ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์ (Post Conventional Level) ในระดับนี้บุคคลจะตัดสินข้อขัดแย้งต่าง ๆ ด้วยการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบด้วยตนเอง พิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง หลุดพ้นจากฎเกณฑ์ของสังคม แบ่งได้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 5 ขั้นทำตามคำมั่นสัญญาหรือมีเหตุผลเคารพตนเอง (Social Contract Legalistic Orientation) บุคคลจะเห็นความสำคัญของชนหมู่มาก เคารพตนเอง เคารพมิตที่มาจากการลงความเห็น มีเหตุผล ถือว่ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนร่วเป็นใหญ่ (พบในผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ได้แก่ วัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่)
ขั้น 6 ขั้นทำตามหลักอุดมสติสากล (The Universal Ethical Principle) บุคคจะสำนึกถึงคุณค่าของความถูกต้อง โดยคำนึงถึงเหตุผลอย่างกว้างขวาง คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและปฏิบัติตามความถูกต้องนั้นอย่างไม่หวั่นไหว มีความสะอายต่อการทำความชั่ว
โคลเบอร์ก เชื่อว่า พัฒนาการจริยธรรมนั้นไม่ใช่การรับรู้จากการสั่งสอนจากผู้อื่น แต่เป็นการผสมผสานระหว่างความรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น และบทบาทของผู้อื่น รวมถึงกฎเกณฑ์ของกลุ่มต่าง ๆ การพัฒนาทางด้านการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นไปตามขั้น ส่วนการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมจะพัฒนาจากขั้นต่ำแล้วพัฒนาขึ้นไปด้วยประสบการใหม่ ๆ ทางสังคม ทำให้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในขั้นสูงขึ้นไป
กล่าวได้ว่า ขั้นในการใช้เหตุผลตามทฤษฎีพัฒนาทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ขั้นที่ 1 ขั้นหลักการหลบหลีกการถูกลงโทษ ขั้นที่ 2 ขั้นหลักการแสวงหารางวัล ขั้นที่ 3 ขั้นใช้หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ของสังคม ขั้นที่ 5 ขั้นทำตามคำมั่นสัญญาหรือมีเหตุผลเคารพตนเอง ขั้นที่ 6 ขั้นทำตามหลักอุดมคติสากล
4. ทฤษฎี่ความต้องการของ อับราฮัมมาสโลว์
มาสโลว์ (Abraham Maslow) (1987 : 15) ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดด้านจิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic Theory) เป็นแนวคิดที่นิยมใช้กันมากในการพัฒนามนุษย์ โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับ มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุดเมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนอง แล้วมนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่น ๆ ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป มาสโลว์ แบ่งลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs) เป็นต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การฟักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (Security or Safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้วมนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับสูงขึ้นต่อไป เช่นความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (Affiliation or Acceptance needs) เป็นการต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะควาต้องการได้รรับการยอมรับการต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) หรือความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการได้รับการยกย่อง นับถือและสถานะจากสังคม เช่น การต้องการได้รับความเคารพ นับถือความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self-Actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล ที่มีความรักและศักดิ์ศรีในตน มีวินัย มีจริยธรรม และประสิทธิผลในการดำเนินชีวิต เช่นความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองแต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีดังกล่าวนี้ มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับ มนุษย์ย่อมพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
5. ทฤษฎีต้นไม้ของดวงเดือน พันธุมนาวิน
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2544 : 187) ได้นำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับคุณธรรม และจริยธรรมไว้คือทฤษฎีต้นไม้ ได้อธิบายไว้ว่า ลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจ ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ได้ทำการศึกษาถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่งรวมถึงสาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6-60 ปี ว่าพฤติกรรมมเหล่านั้น มีสาเหตุทางจิตใจอะไรและนำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม ออกเป็น 3 ส่น ดังนี้
1. ส่วนดอกผล แสดงถึงพฤติกรรมการทำความดี ละเว้นความชั่วและพฤติกรรมการทำงานอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดีพฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนาประเทศ
2. ส่วนลำต้น แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ด้าน คือ
1. เหตุผลเชิงจริยธรรม คือ การซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ
2. ,มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเองคือ การรู้จักควบคุมตนเองให้อดทน มีความภูมิใจในการทำความดี
3. ความเชื่ออำนาจในตนคือ เชื่อว่าผลที่เกิดมาจากการกระทำของตนเอง
4. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือ การมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จตามจุดหมายกล้าฝ่าอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ
5. ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยมคือ การมองเห็นและเข้าใจในคุณค่า ประโยชน์และความดีของการปฏิบัติหน้าที่
3. ส่วนของราก แสดงถึงพฤติกรรมการทำงาน ประกอบอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ประกอบด้วยจิตลักษณะ 3 ด้าน คือ
1. สติปัญญา คือ ความเฉลียวฉลาด มีความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับอายุ
2. ประสบการณ์ทางสังคม คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ได้รับประสบการณ์ทางสังคมอย่างเหมาะสมกับอายะ
3. สุขภาพจิต คือ การมีความสุขในการทำงาน มีอารมณ์ที่มั่นคง
กล่าวด้วยสรุปได้ว่า . ส่วนดอกผล แสดงถึงพฤติกรรมการทำความดี ส่วนลำต้น แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ส่วนของราก แสดงถึงพฤติกรรมการทำงาน
6. ทฤษฎีทางพุทธศาสตร์
หลักคุณธรรม จริยธรรม ที่ใช้ในพระพุทธศาสนา ก็คือ ให้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ให้ทำความดี ให้ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์
สุชีพ ปัญญานุภาพ (2540 : 180) ได้นำเสนอหลักจริยศาสตร์ของศาสนาพุทธ ไว้ว่าหลักจริยศาสตร์ของศาสนาพุทธ มี 3 ขั้น คือ
1.จริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยศีล 5 ธรรม 5 ดังนี้
1. เว้นจากการเบียดเบียน ทำร้ายชีวิตสัตว์หรือมนุษย์ การมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ จัดเป็นศีล ในส่วนของการมีความเมตตาต่อมนุษย์ด้วยกัน จัดเป็นธรรม
2. เว้นจากการลักทรัพย์ จัดเป็นศีล ในส่วนของการมีความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ประกอบอาชีพที่สุจริต จัดเป็นธรรม
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม จัดเป็นศีล ส่วนการสำรวมในกาม จัดเป็นธรรม
4. เว้นจากการพูดเท็จ จัดเป็นศีล การพูดแต่สิ่งที่เป็นจริง สร้างสรรค์ จัดเป็นธรรม
5. เว้นจากการดื่มสุรา จัดเป็นศีล การมีสติ สำรวมระวังกาย ใจ และวาจา จัดเป็นธรรม
2. จริยศาสตร์ขั้นกลาง ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ดังนี้
1. เว้นจากการฆ่า หรือทำร้ายเบียดเบียนชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
2. เว้นจากการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดยุยงให้แตกร้าว
6. เว้นจากการพูดคำหยาบ
7. เว้นจากการพูดเหลวไหล พูดเพ้อเจ้อ
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นเอามาเป็นของตนเอง
9. ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น หรือคิดให้ผู้อื่นถึงความพินาศ
10.ไม่มีความเห็นผิดไปจากทำนองคลองธรรม มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง
3. จริยศาสตร์ขั้นสูง ประกอบด้วยอริยมรรค คือ ทางอันประเสริฐมี 8 ประการ ดังนี้
1. ความเห็นชอบ หมายถึง มีปัญญาเห็นอริยสัจ 4 ประการ
2. ความดำริชอบ หมายถึง ดำริในการออกจากกาม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
3. การเจรจาชอบ หมายถึง ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. การกระทำชอบ หมายถึง ไม่ฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การประกอบอาชีพโดยชอบธรรม ถูกกฎหมาย
6. ความเพียรชอบ หมายถึง การเพียงระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรสร้างความดี เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
7. การตั้งสติชอบ หมายถึง ตั้งสติพิจารณาร่างกาย เวทนา ความรู้สึกสุข-ทุกข์ ให้รู้เท่าทันเห็นความเกิดดับ
8. การตั้งใจมั่นชอบ หมายถึง การทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่
กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักคำสอนของศาสนาพุทธเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ที่มา
ดวงเดือน พันธุมนาวิน.(2544).ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและการพัฒนาบุคคล.(พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.โครงการวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทย(รายงานการวิจัย).ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม:สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.
สุชีพ บุญญานุภาพ.(2540).ประวัติศาสตร์ศาสนา.(พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิมงกุฎราชวิทยาลัย.
Jean Piaget. (1997).The Moral Judgment of the Child. London : Routledge & Kegan Paul Ltd.
Lawrence Kohlberg. (2000).Development of Moral Character and Moral Ideology Review of Child Development Research. New York : Russell Sage Foundation.
Maslow Abraham. (1987).Motivation and Personnality. New York : Harper and Row Publishers.
รูปดอกบัว

ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม

ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่มีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ซึ่งกล่าวได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญในการแก้ปัญหาสังคมได้
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (2551 : 7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ไว้พอสรุปได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องมีการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านความรู้ และคุณธรรม ซึ่งจำเป็นต้องกระทำตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมในปัจจุบันและอนาคต
ป๋วย อิ้งภากรณ์ (2545 : 3) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้พอสรุปได้ว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมาย ต่อไปนี้
1. เพื่อที่จะอบรมนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรม เป็นพลเมืองดี มีความคิดชอบ ทำชอบ ประพฤติชอบ
2. ควรจะอบรมนักเรียน รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยให้รู้จักใช้ความคิด รู้จักบำรุงสติปัญญาให้เฉียบแหลมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แก่ตนและแก่ประชาชน
3. ฝึกนักเรียนให้มีความรู้สำหรับใช้ประกอบอาชีพ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
พร้อมได้แสดงทัศนะเพิ่มเติมอีกว่า การศึกษาอบรมดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษาเท่านั้น โดยเฉพาะในหัวข้อที่ 1 ควรจะได้รับการอบรมจากทางบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก แม้จะเป็นเรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่ด้วยสมัยปัจจุบันพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง มักโยนความรับผิดชอบไปให้ครู อาจารย์ และสถานศึกษา ดังนั้นสถานศึกษามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิชาการและวิชาชีพตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้ใดได้รับการศึกษาในระดับต่ำก็จะได้รับประโยชน์น้อย แต่ถ้าการศึกษาสูงขึ้นไปก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มพูนขึ้น แต่หากผู้ใดมีสันดานเลวและบกพร่องในข้อ 1 คือปราศจากความซื่อสัตย์สุจริตและศีลธรรม คุณประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อ 2 และข้อ 3 ย่อมกลายเป็นโทษ และในบางกรณีย่อมกลายเป็นโทษมหันต์
พระบำรุง ปญฺญาพโล (2555 : 14) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ไว้ด้งนี้ คุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพ ลักษณะอันมาซึ่งความเป็นพลเมืองที่ดี ความประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามคำสั่งสอนในศาสนา หรือการประพฤติตามเกณฑ์ที่ถูกต้องทั้งกายวาจา และใจ อันก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนร่วม นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสังคม เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดมีตัวบุคคลมากที่สุด
คุณธรรม จริยธรรม และที่พึ่งประสงค์ ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
กรมวิชาการ (2539 : 15) ได้อธิบาย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม มีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์หลายประการเช่น
1. ทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลาย เป็นตัวกำหนดการแสดงออกว่าควร
ทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่าง ๆ และช่วยประเมินการปฏิบัติของตัวเราและบุคคลอื่น
2. ทำหน้าที่เป็นแบบแผนสำหรับการตัดสินใจและแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทำให้เขาเลือกทางใดทางหนึ่งเพื่อแก้ไขปํญหา เช่น การตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนที่จะเลือกในทางช่วยเหลือพวกพ้องหรือปฏิบัติในทางที่ไม่สุจริต
3. ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจหรือผลักดันของบุคคล เช่น คนที่นิยมชมชอบการมีอายุยืนยาว มีสุขภำดี จะผลักดันให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและวิชาชีพนั้น ๆ ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การขาดจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้านต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตอีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งในวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหา นักการเมือง และนักธุรกิจที่ดีได้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2531 : 3) กล่าวว่า น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เพราะ ถ้าขาดน้ำเพียงวันเดียวคนก็แทบตาย ยิ่งขาดอากาศประเดี๋ยวเดียวก็อาจตายหรือไม่ก็เป็นอัมพาตไป จริยธรรมหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์และสังคของเราอยู่โดยไม่รู้ตัว แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่งระหว่างน้ำและอากาศ กับศาสนาและจริยธรรม คือน้ำและอากาศนั้นคนขาดไปแล้วก็รู้ตัวเองว่าตัวเองขาดอะไรและต้องการอะไร แต่ศาสนาและจริยธรรมนั้นมีลักษณะประณีตและเป็นนามธรรมมาก จนกระทั่งแม้ว่าคนจะขาดสิ่งเหล่านี้จนถึงขั้นมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วก็ยังไม่รู้ว่าขาดอะไร ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องสร้างความเข้าใจ และชี้แจงอย่างต่อเนื่องให้ตระหนักเห็นคุณค่าและความสำคัญ
ยนต์ ชุมจิต (2546 : 264) ได้อธิบายว่า คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมก่อให้เกิดประโยชน์หรือมีความสำคัญทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประโยชน์ตน ทำให้ตนเองมีชีวิตที่สงบร่มเย็น ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะตนเองไม่ได้เบียดเบียนผู้ใด มีแต่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคมและผู้อื่น ทำให้ตนเองมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตส่วนตัวและการงานอาชีพ มีความมั่นคงและก้าวหน้า ได้รับการยกย่องสรรเสริญเทิดทูนบูชาจากบุคคลทั่วไป ครอบครัวอบอุ่น มีความสุข มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ประโยชน์ต่อสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัวของตนได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ประกอบอาชีพธุรกิจมีชื่อเสียง ทำให้บุคคลอื่นศรัทธาเลื่อมใส สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัดมีความเจริญก้าวหน้า ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะสมาชิกทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม ประโยชน์ต่อชุมชน เช่น สังคมได้รับความสงบสุข เพราะทุกคนเป็นคนที่มีคุณธรรม และสังคมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เพราะสมาชิกทุกคนต่างกระทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความจงรักภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันดังกล่าวอย่างแท้จริง และขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีความมั่นคงถาวร เพราะทุกคนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเต็มใจยึดถือปฏิบัติตาม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 1) ได้ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะทางจิตใจที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ช่วยสร้างเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้มีความเก่ง ความดี และมีความสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดโดยเน้นจริยธรรมเป็นสำคัญ เพื่อหาแนวทางในการปลูกฝังค่านิยมและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและสังคมไทยโดยมุ่งเน้นให้เยาวชนมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่
1.ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงถึงความ
กระตือรือร้นสนใจใฝ่คิดค้นเสาะแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ
2.ความมีน้ำใจ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีที่บุคคลกระทำ
เพื่อผู้อื่นและสังคม ความมีน้ำใจเป็นคุณลักษณะที่เด่นของคนไทยที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในสังคมชนบท ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเอื้ออาทรต่อกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองที่เน้นเศรษฐกิจทำให้วิถีชีวิตของคนมีความเร่งรีบและต่อสู้มากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการแสดงออกต่อกันด้านความมีน้ำใจและปรากฏชัดมากขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม หากสังคมไม่ให้ความสนใจในการส่งเสริมด้านความมีน้ำใจอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ความมีน้ำใจมีพื้นฐานมาจากการรู้จักช่วยเหลือ รับผิดชอบต่อตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือรับผิดชอบต่อตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้จักแบ่งปันและให้ ตลอดจนเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน ความมีวินัย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่จะช่วยให้สามารถควบคุมตนเองและปฏิบัติตนตามระเบียบเพื่อประโยชน์สุขของส่วนร่วม นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาเชื่อว่าวินัยมีพื้นฐานมาจากวัยแรกของชีวิต มีการเรียนรู้ การเลียนแบบและการฝึกฝนจากบุคคลและสังคมแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน กับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดการซึมซับคุณธรรมขึ้นภายใน ทำให้เกิดพฤติกรรมจริยธรรมและคุณธรรมของบุคคล ความเป็นไทย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงถึงการเห็นคุณค่าภาคภูมิใจและสำนึกในความเป็นไปที่มีวัฒนธรรมพร้อมที่จะปฏิบัติ ปกป้อง อนุรักษ์และสืบทอด อีกทั้งเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคโลกไร้พรมแดน ความเป็นไทยจะยังคงอยู่ยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและอนุรักษ์ความเป็นไทย จึงต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีงามด้านความเป็นไทยสู่จิตใจของเด็กและเยาวชน การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย เป็นการวิเคราะห์และไตร่ตรอง ตัดสินใจเลือกรับหรือกระทำสิ่งใดด้วยความรู้และเข้าใจในประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริง การศึกษาไทยควรเน้นในเรื่องการบริโภคด้วยปัญญา แต่ความก้าวหน้าทางวัตถุชนิดที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมให้อยู่ในหลักการแห่งความพอดีเป็นความเสื่อมทางจิตใจ พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาจึงมีลักษณะของการสร้างความเสื่อมแก่สภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือธรรมชาตินำไปสู่ความวิปริตของดินฟ้าอากาศ ทุกชีวิตในโลกจึงไร้ความปลอดภัยเพราะความเจริญทางด้านวัตถุแต่ขาดความเจริญทางด้านจิตใจ
พระมหาอาจริยพงษ์ (2554 : 15) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ไว้ว่า ถือเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญและความเสื่อมของสังคม ความสำคัญของคุณธรรมทำให้เกิดจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องและดีงาม ทำให้เกิดความสุขและความพึงพอใจกับตนเองและทำให้เกิดความสันติสุขต่อสังคม คุณธรรม สามารถที่จะปลูกฝังกันได้ ซึ่งเมื่อบุคคลเกิดคุณธรรมอย่างหนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดคุณธรรมด้านอื่น ๆ ตามมา คุณธรรม จริยธรรมมีอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่คุณธรรม จริยธรรม ของแต่ละสังคมและแต่ละชุมชนก็อาจจะมีความแตกต่างกันตามความเชื่อ กาลเวลา ค่านิยม ศาสนา อาชีพ และชนชั้น ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม จึงมีลักษณะเป็นพลวัตร มีความเป็นอนิจลักษณะ พร้อมที่จะปรับตนเองให้เข้ากับบริบทของสังคมและชุมชนตลอดเวลา
สมเดช สีแสง (2538 : 230) ได้สรุปความสำคัญของคุณธรรมไว้ดังนี้ คุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวและแก่ประเทศชาติเป็นส่วนร่วม ดังในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2520 ว่า “การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริตความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้นเป็นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วย ความสวัสดี คือ ปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์” ที่ว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวนั้นก็เพราะว่า คุณธรรมเป็นเครื่องช่วยให้แต่ละคนประสบความสุขความเจริญในหลาย ๆ ทาง เช่น
1.คุณธรรมเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ เราไม่คุณค่าของมนุษย์เป็นตัวเงิน
แต่จะตีค่ากันด้วยคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนดี เป็นคนมีค่ามาก ส่วนผู้ไร้คุณธรรมอาจจะถูกประณามว่า “เหมือนมิใช่คน” เป็นคนมีค่าน้อย
2. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ในความคิดและการกระทำ เพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างความคิด คำพูด และการกระทำ
3. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมมิตรภาพ เช่น “ความจริงใจ” ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นไปอย่างราบรื่น คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจ จึงทำให้เสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้
4. คุณธรรมเป็นเครื่องสร้างความสบายใจ ซึ่งนอกจากจะสบายใจเพราะการทำแต่สิ่งที่ถูกต้องที่ควรแล้วยังสบายใจที่ไม่ต้องระแวงระวังในอันตรายที่จะมีมาอีกด้วย เพราะผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ประพฤติแต่ในทางที่ถูกต้องและไม่ทำผิด
5. คุณธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จและความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
กล่าวได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม มีความสำคัญ เป็นมาตรฐานกำหนดแสดงออกว่าควรทำหรือไม่ควรทำ ช่วยในการตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนการปฏิบัติในทางทุจริต ทำให้ตนเองมีความสงบสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ซึ่งคุณธรรม จริยธรรมจะอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมมีความสงบสุข และคุณธรรม จริยธรรมของแต่ละสังคม อาจจะมีความแตกต่างกัน ตามความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา อาชีพ ชนชั้น คุณธรรม จริยธรรมมีความเป็นพลวัตร

ที่มา
กรมวิชาการ.(2539).คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย.กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
ป๋วย อิ้งภากรณ์.(2545).ทัศนะว่าด้วยการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลดีมทอง.
พระบำรุง ปัญฺญาพโล (โพธิ์ศรี).(2555).ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหม่ กรุงเทพมหานคร.ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวท์ (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2531).ธรรมมะกับการศึกษาของไทย.กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาอาจริยพงษ์ คำตั๋น.(2554).การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยนต์ ชุมจิต.(2546).การศึกษาและความเป็นครูไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
สมเดช มีแสง.(2538).คู่มือการปฏิบัติราชการและเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.อุทัยธานี:ม.ป.พ.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.(2540).คู่มือการจัดกิจกรรมและพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา.

ดอกบัวบาน

คุณธรรม จริยธรรม

ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม
จากคำว่า คุณธรรม จริยธรรม นั้นมักมีการนำมาใช้คู่กัน ทำให้มีความเข้าใจว่ามีความคล้ายคลึงกัน
ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำเหล่านี้ ไว้ดังนี้
พุทธทาสภิกขุ (2505:3) ได้ให้อรรถาธิบายคำว่า คุณธรรมไว้ว่า หมายถึง คำที่มีอยู่ในแต่ละสิ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยืดถือ เป็นไปได้ทั้งทางดีและทางร้าย คือ ไม่ว่าจะทำให้จิตใจยินดีหรือยินร้ายก็เรียกว่า “คุณ” ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมาย 4 อย่าง คือ
1.ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
2.ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติที่เรามีหน้าที่ต้องเรียนรู้
3.ธรรมะ คือ หน้าที่ที่ตามกฎของธรรมชาติ เรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
4.ธรรมะ คือ ผลจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น เรามีหน้าที่จะต้องมี หรือใช้มันอย่างถูกต้อง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 253) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คุณธรรม” หมายถึง สภาพคุณงามความดี
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2543 : 115) ให้ความหมายของคุณธรรมว่า คุณธรรม คือ สิ่งที่บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม มีประโยชน์มากและมีโทษน้อย
ยนต์ ชุมจิต (2546 : 261) ให้ความหมายของคุณธรรมว่า หมายถึง ธรรมชาติของความดี ลักษณะของความดี หรือสภาพของความดีที่มีอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
จรัล แก้วเป็ง (2546 : 8) ได้กล่าวสรุปความหมายคุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ในการแสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล ซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักประจำในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งอาจส่งผลให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
วีระพงศ์ ถิ่นแสนดี (2550 : 22)ได้อธิบายความหมาย คุณธรรมเป็นความดีอันสูงสุดที่ปลูกฝังอยู่ในอุปนิสัยอันดีงามของคนทั่วไป ซึ่งวางอยู่ในจิตสำนึก ความรู้สึกรับผิดชอบของคนนั้น อันเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติของบุคคลให้แสดงออกตามที่ปรารถนา
ทิพย์ หาสาสน์ศรี (2553 : 7)ได้อธิบายความหมายถึงคุณธรรม ไว้ว่า หลักคุณงามความดี ความถูกต้องที่อยู่ภายในจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งจะส่งเสริมให้บุคคลในสังคม ยึดมั่นเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดคุณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม
พระมหาอาจริยพงษ์ (2554:9) ได้อธิบายความหมายถึงคุณธรรม ไว้ดังนี้ คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี และคุณลักษณะหรือสภาวะ (นามธรรม) ที่มีค่าอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ซึ่งเป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือดีงามคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสังคมมนุษย์ที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เพราะคุณธรรมเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติ และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความสงบร่มเย็นเป็นสุขของสังคมโดยส่วนร่วม
พระบำรุง ปัญฺญาพโล(โพธิ์ศรี) (2555 : 10) ได้กล่าวสรุปคุณธรรมไว้ว่า สิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ เป็นลักษณะของความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ เป็นสภาพคุณงามความดีที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์เป็นเวลายาวนาน เป็นตัวกระตุ้นให้มีการประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบที่มีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามทางจิตใจ เป็นคุณค่าของชีวิตในการบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ ให้เกิดความรักสามัคคี ความอบอุ่นมั่นคงในชีวิต ดังนั้นคุณธรรมเป็นบ่อเกิดของจริยธรรม คุณธรรมที่สำคัญยิ่งของคนในชาติที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพระพุทธศาสนาโดยปรัชญาแนวคิดนั้นเน้นหลักธรรมที่เป็นสัจธรรมที่เป็นวิธีการสอนการเผยแพร่ถ่ายทอดหลักธรรมสู่การปฏิบัติเน้นคุณธรรมในการใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผลหลักธรรมที่เป็นหัวใจพุทธศาสนานำมาสั่งสอน มี 3 ประการ คือ 1. ให้เว้นจากความชั่วทั้งปวง 2. ให้ทำความดี 3. ให้ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ หลักธรรมที่พระพุทธศาสนานำมาประกาศเป็นคุณธรรม อันมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งหมดคือเมื่อปฏิบัติตามข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่งแล้วย่อมเกี่ยวข้องกับข้อธรรมข้ออื่น ๆ ตามมาเป็นแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่กำหนดข้อประพฤติปฏิบัติทางกายและใจเริ่มตั้งแต่ข้อปฏิบัติพื้นฐานทางกายไปสู่ขั้นสูงที่เป็นข้อปฏิบัติทางความคิด เพื่อความหลุดพ้นทางจิตใจ
กล่าวได้ว่า คุณธรรม เป็นคุณงามความดี ที่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ดี เป็นเครื่องควบคุมบุคคลในสังคม บุคคลยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในสังคมโดยคุณธรรม เป็นปฏิบัติแล้วก็จะทำให้มีความสงบร่มเย็นในการดำเนินชีวิต
ความหมายของจริยธรรม
ได้มีผู้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ดังนี้
พุทธทาสภิกขุ (2553 : 95) ได้อรรถาธิบายความหมายของคำว่า จริยธรรม แปลว่าเป็นสิ่งที่พึงประพฤติจะต้องประพฤติในส่วนศีลธรรมนั้นหมายถึงสิ่งที่กำลังประพฤติอยู่หรือประพฤติแล้ว จริยธรรมหรือ Ethics อยู่ในรูปของปรัชญาคือสิ่งที่ต้องคิดต้องนึกส่วนเรื่องศีลธรรม Morality นี้ ต้องทำอยู่จริง ๆ เพราะเป็นปัญหาเฉพาะหน้า
ทิศนา แขมมณี (2547 : 47) ได้ให้ความหมายของ จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติหรือการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่ดีงามเป็นที่ยอมรับของสังคม รวมทั้งหลักเกณฑ์ มาตรฐานของความประพฤติที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้อื่น ต่อสังคม เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก และคณธ (2551 :15) ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรม ไว้ว่า หมายถึง หลักการ ศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พฤติกรรมอันดีงามที่ปลูกฝังอยู่ในตัวบุคคล สามารถใช้เป็นแนวทางให้แก่บุคคลในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นเกณฑ์ในการตัดสินพฤติกรรมของบุคคลว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี ควรจะทำหรือไม่ควรทำ
พระบำรุง ปญฺญาพโล (โพธิ์ศรี) (2555 : 12) จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นถึงการปฏิบัติอยู่ ปฏิบัติถูกต้อง อันเป็นผลมาจากความคิดที่สังคม หรือบุคคลมีความเห็นว่าเป็นการปฏิบัติที่ดี เป็นกรอบกำหนดไว้เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความร่มเย็นเป็นสุข มีความรักความสามัคคีและมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
วีระพงศ์ ถิ่นแสนดี (2555 :23) ได้กล่าวสรุปความหมายจริยธรรม ว่าเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดีงามและถูกต้องของบุคคล ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดอันถูกต้องดีงาม ที่ควรประพฤติปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและบุคคลอื่นโดยทั่วไปในสังคม
ทิพย์ หาสาสน์ศรี (2553 : 8) ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติตามกฎของศีลธรรม ซึ่งผู้ปฏิบัติจะประสบแต่สภาพชีวิตที่ดีที่เจริญรุ่งเรือง และสงบสุข
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2547 : 159) อธิบายว่า นักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรม ต่างกันออกไปดังนี้
นักจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าจริยธรรม คือ สิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง ขัดเกลา และพัฒนาขึ้นจากแรงขับพื้นฐานภายในจิตใจใต้สำนึกของตน กระบวนการขัดเกลานั้นอยู่ในรูปของการเลียนแบบด้วยวัตถุประสงค์ที่จะปรับตัวตามมาตรฐานพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในสังคม
นักจิตวิทยาปัญญานิยม เชื่อว่าจริยธรรม คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดควบคู่กับสติปัญญาของมนุษย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคม
พระมหาอาจริยพงษ์ (2554 : 11) ได้กล่าวถึง จริยธรรม ไว้ว่า ความประพฤติและการปฎิบัติที่คนในสังคมเห็นร่วมกันว่าถูกต้องดีงาม ทั้งทางกายและวาจา ซึ่งสะท้อนคุณธรรมภายในออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม สมควรที่บุคคลจะนำมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและสังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบร่มเย็นเป็นสุข
กล่าวโดยสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึงสิ่งที่ถูกต้องดีงามทั้งการกระทำ และจิตใจ เป็นสิ่งสังคมยึดปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีความสุข

ที่มา
จรัส แก้วเป็ง.(2546).การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านคารวะธรรม โรงเรียนเรียงคำวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา.วิทยานิพนธ์คุรศาสตร์มหาบัณฑิต,สถาบันราชภัฎเชียงราย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน.(2543).ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม:การวิจัยและพัฒนาบุคคล.กรุงเทพมหานคร:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิพย์ หาสาสน์ศรี.(2553).การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (รายงานผลการวิจัย).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง.
ทิศนา แขมมณี.(2547).ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระบำรุง ปัญฺญาพโล (โพธิ์ศรี).(2555).ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหม่ กรุงเทพมหานคร.ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธทาส.(2553).แนะแนวจริยธรรม.กรุงเทพ:บริษัทศิริพัธต์.
พุทธทาสภิกขุ.(2505).แนะแนวจริยธรรม.กรุงเทพมหานคร: บริษัทศิริพัธต์.
พระมหาอาจริยพงษ์ คำตั๋น.(2554).การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก.(2551).การยกระดับคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม:แนวทางและการปฏิบัติ(รายงานผลการวิจัย).กรุงเทพมหานคร:ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์.(2547).ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยนต์ ชุมจิต.(2546).การศึกษาและความเป็นครูไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
วีระพงศ์ ถิ่นแสนดี.(2550).การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสิงห์สะอาด อำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์.ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ดอกบบบ